วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

AuOvOm~วันพ่อนานาชาติ ตรงกับวันไหนบ้าง?

วันพ่อของแต่ละประเทศ
...ตรงกับวันที่เท่าไหร่บ้าง?...





19 มีนาคม โบลิเวีย ฮอนดูรัส อิตาลี ลิกเตนสไตน์ แอนโดรา โปรตุเกส สเปน
5 พฤษภาคม โรมาเนีย
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้
วันอาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายน ลิทัวเนีย
5 มิถุนายน เดนมาร์ก
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายน ออสเตรีย เบลเยี่ยม
วันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน อาร์เจนติน่า แอนทิกัว บาฮามัส บังกลาเทศ บัลแกเรีย แคนาดา ชิลี จีน

โคลอมเบีย คอสตา ริก้า คิวบา ไซปรัส สาธารณรัฐเชก เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส กาห์นา กรีซ กายอาน่าฮ่องกง

ฮังการี อินเดีย ไอร์แลนด์ จาไมก้า ญี่ปุ่น มาเลเซีย มอลต้า มอริเชียส เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน

ปานามา ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ เปอร์โตริโก เซนท์ วินเซนต์ แอนด์ เกรนาดีนส์ สิงคโปร์ สโลวาเกีย

แอฟริกาใต้ ศรีลังกา สวิตเซอร์แลนด์ ทรินิแดด แอนด์ โทเบโก ตุรกี สหราชอาณาจักร ยูเครน สหรัฐอเมริกา

เวเนซูเอล่า ซิมบับเว บาร์เบโดส
17 มิถุนายน เอลเซวาดอร์ กัวเตมาลา
21 มิถุนายน ซีเรีย เลบานอน
23 มิถุนายน นิคารากัว โปแลนด์ อูกันดา
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน ไฮติ
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกรกฎาคม อูรุกวัย
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฏาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม บราซิล
8 สิงหาคม ไต้หวัน
วันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกันยายน ลัทเวีย
วันอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคม ลักเซมเบิร์ก
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เอสโทเนีย ฟินแลนด์ สวีเดน ไอซ์แลนด์


*5 ธันวาคม ประเทศไทย *





แต่ละประเทศ

เค้ามีประเพณีอะไรในวันพ่อบ้าง?




ประเทศอาร์เจนติน่า

วันพ่อของประเทศอาร์เจนติน่าจะเฉลิมฉลองกันในวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่บิดาแห่งอาร์เจนติน่า "โจเซ่ เดอ ซาน มาร์ติน" ได้เป็นพ่อ

ไต้หวัน

ในไต้หวัน วันพ่อไม่ได้เป็นวันหยุดพิเศษ แต่หากลองสังเกตในวงกว้างแล้ว ในวันที่ 8 สิงหาคม ก็คือวันที่ 8 เดือน 8 ของปี ในภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เลข 8 จะออกเสียงว่า "ปา" ซึ่งเสียงนั้นก็จะไปพ้องกับคำว่า ปา ที่แปลว่า "พ่อ" (ปาป๊านั่นเองค่ะ) ดังนั้น ชาวไต้หวันจึงนิยมเรียกวันที่ 8 สิงหาคมว่า "ปาป๊า เดย์ (วันพ่อ)"

เยอรมนี

วันพ่อในเยอรมนีไม่ได้มีการเฉลิมฉลองเหมือนกับวันพ่อในประเทศทางตะวันตกประเทศอื่น และที่นี่ไม่ได้เรียกวันพ่อว่าวันพ่อแต่มีคำอื่นที่มีความหมายเดียวกันใช้เรียกแทน

Vatertag มักนิยมเฉลิมฉลองกันใน Ascension Day (วันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ เป็นวันที่พระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์) และถือเป็นวันหยุดประจำชาติ บางทีก็เรียกกันว่า Men's day หรือ Gentlemen's day (Männertag,Herrentag) จะมีประเพณีที่ผู้ชายเท่านั้นต้องทำ คือ ประเพณีเข็นรถขึ้นภูเขา (จะคล้ายเข็นครกขึ้นภูเขาไหมน้อ?) และในรถจะบรรจุไวน์หรือเบียร์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น)





วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

AuOvOm~ "สวรรคาลัย" อยู่ ณ แห่งหนใด

"สวรรคาลัย" อยู่ ณ แห่งหนใด



"ถึงเวลาส่งนางฟ้ากลับสวรรค์" ช่วงนี้สถานีวิทยุต่างก็เปิดเพลงนี้ตลอดทั้งวันเพื่อเป็นการถวายความอาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งจะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันพรุ่งนี้ (เสาร์ที่ 15 พ.ย. 2551) แล้วนะคะ และหลายๆ ครั้งที่เรามักได้ยินคำว่า "ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย" บางทีอาจจะมีคนกำลังสงสัยก็ได้ว่า "สวรรคาลัย" นั้น อยู่ที่ใด?





ความหมายของ "สวรรคาลัย" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง เสียชีวิต ซึ่งจะใช้แก่เจ้านายชั้นสูง นอกจากนี้แล้วคำๆ นี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการแต่งกลอน ส่วนการใช้คำว่า "ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย" ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า"สวรรคาลัยเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใดแต่ความจริงแล้วไม่ใช่ชื่อของชั้นของสวรรค์" ทั้งนี้หากแปลความหมายตรงๆหมายถึง "ส่งเสด็จไปสู่สวรรค์" นั่นเอง
สำหรับสวรรค์ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนานั้น นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้เขียนหนังสือ ตามหาความจริงวิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม และถอดกฎพบกรรม ได้ยกตำราในพระไตรปิฎกมาอธิบายโดยเรียงจากชั้นล่างสุด ประกอบด้วย






1.ชั้นจาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นนี้อยู่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ประกอบด้วยเทวดาหลากหลายประเภท มีผู้ปกครอง 4 องค์ เรียก จตุโลกบาล โดยองค์แรกคือ ท้าวกุเวร หรือ เวสสุวรรณ อยู่ด้านทิศเหนือ ผู้ปกครององค์ที่ 2 คือ ท้าว วิฬุรหก อยู่ด้านทิศใต้ ผู้ปกครององค์ที่ 3 ชื่อ ท้าววิรูปักษ์ อยู่ทิศตะวันตก ผู้ปกครององค์ที่ 4 ชื่อ ท้าวธตรัฐ อยู่ทิศตะวันออก ปกครองพวก คนธรรพ์ รุกขเทวดา ภูมิเทวดา และ อากาสเทวดา สวรรค์ชั้นนี้ครอบคลุมตั้งแต่ พื้นโลกมนุษย์ขึ้นไปถึงระยะประมาณ 21,000 โยชน์ (คูณด้วย 16 จะออกมาเป็นกิโลเมตร )


2. ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่คนไทยคุ้นชื่อมากที่สุด และมีการพรรณนาถึงความงดงามของสวรรค์ชั้นนี้กันมากมาย ในชั้นนี้ มีสมเด็จพระอมรินทราธิราช หรือ พระอินทร์ เป็นผู้ปกครอง มีสวนสวรรค์อยู่ 4 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 4 ทิศ มีชื่อว่า นันทะ จิตรลดา สักกะ และ ผรุสกะ ส่วนที่ตั้งของชั้นดาวดึงส์ ก็อยู่สูงขึ้นไปจากโลก ประมาณ 42,000 โยชน์


3.ชั้นยามาเป็นสวรรค์ที่เพียบพร้อมด้วยความงาม และ ความสุข มากกว่าชั้นดาวดึงส์หลายเท่า ทิพยปราสาท เป็นเงิน และ ทอง มีรัศมีสว่างไสว กายทิพย์ของเทวดาเอง ก็มีรัศมีแผ่รอบกายเช่นกัน ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสยามเทวาธิราช สำหรับสถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกประมาณ 42,000 โยชน์


4.ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ก็มีความงดงามตระการตาเพิ่มขึ้น จากสวรรค์ชั้นยามาอีกมากมาย ที่สำคัญก็คือสวรรค์ชั้นนี้ เป็นสถานที่ ที่พระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งใจบำเพ็ญบารมี เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะมาเกิดที่นี่


5.ชั้นนิมมานรดี สวรรค์นี้มีความงดงาม ประณีต เหนือกว่าสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปอีก ซึ่งยากจะบรรยาย โดยใช้ภาษาที่พวกเราใช้กันตามปกติ เทพในชั้นนี้ รัศมีเรืองรองสว่างไสว และความพิเศษ ของเทพในชั้นนี้ก็คือ สามารถเนรมิตเอาอะไรก็ได้ ตามแต่ใจปรารถนา ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสุนิมมิตเทวาธิราช


6.ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในฝ่ายเทวโลก เป็นชั้นที่เทพผู้มาเกิด เสวยสุข ที่ละเอียดอ่อน ยิ่งกว่าชั้นอื่นใด อยากได้อะไร ก็จะมีเทพผู้เป็นบริวารมาคอยเนรมิตให้ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระปรนิมมิตวสวัตดีเทวาธิราช สถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจาก สวรรค์ ชั้น นิมมานรดี อีกประมาณ 42,000 โยชน์







สวรรค์มีอยู่จริงหรือ?


ส่วนคำถามที่ว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่พอจะยืนยันได้ว่าสวรรค์มีจริงนั้น นายโอฬาร ได้เสนอเหตุผลดังนี้


1.ทุกศาสนา มีคำสอนเรื่องสวรรค์ทั้งนั้น รายละเอียดอาจแตกต่างกันไป ถ้าคิดว่าศาสดาทุกคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีบารมีสูง รวมกันแล้ว ทำให้คนทั้งโลกเชื่อ มีศรัทธาได้ แล้วทำไม สวรรค์จะมีจริงไม่ได้


2.ชาวพุทธ ถ้าเชื่อคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อกฎแห่งกรรมโดยลึกซึ้ง ก็จะต้องเชื่อการมีอยู่ ของ วัฏสงสารด้วย เพราะกฎแห่งกรรม ไม่สามารถทำงานครบถ้วน สมบูรณ์ ในชาติ (มนุษย์)เดียว ดังนั้น ชีวิตที่มีกายทิพย์อีก ๒๙ ภพภูมิ คือพวก นรก เปรต ผี เทวดา พรหม จึงต้องมีด้วย เพื่อรองรับการเวียนว่ายตายเกิด จากกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แต่ละคนทำขึ้น


3.คนทั่วโลกไม่ว่าสมัยใด และนับถือศาสนาใด มีคนเคยเห็นผีมามากมาย ทั้งด้วยตัวเอง และการถ่ายภาพ (ที่เคยเห็นเทวดามีบ้างแต่น้อย) ถ้าผี คือชีวิตที่มีกายทิพย์ค่อนข้างหยาบ เกือบซ้อนกับภพมนุษย์มีจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เทวดา ซึ่งเป็นกายทิพย์ เช่นกัน แต่ละเอียด ประณีตกว่า จะมีจริงไม่ได้


4.ในทางวิทยาศาสตร์ แต่เดิมอะตอม คือสิ่งละเอียดที่สุด ต่อมาก็พบ นิวตรอน โปรตรอน อีเล็คตรอน และต่อมาก็พบ อนุภาคควอนตัม ที่เล็กกว่านั้นไปอีก ในปัจจุบัน มีทฤษฎี สตริง ที่กล่าวถึง อนุภาคพื้นฐานของจักรวาล ที่เล็กกว่า ควอนตั้ม อีก นับ ล้าน ล้าน ล้าน และอนุภาคละเอียดนี้ จะเกิดได้ในมิติอื่น ๆ นอกเหนือ 4 มิติ ที่เรารู้จักกัน (คำนวณว่าจักรวาล ต้องมี 10-26 มิติ จึงจะรองรับทฤษฎีนี้ได้) ทฤษฎีสตริงนี้ อาจนำไปสู่การพิสูจน์ การมีจริง ของชีวิตกายทิพย์ (หรือโอปปาติกะในพุทธศาสนา ที่อยู่คนละภพภูมิหรือคนละมิติ ถ้าใช้คำทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน)ในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

AuOvOm~วันลอยกระทง





วันลอยกระทง


วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย






ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา







ประวัติ


เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ



ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง


เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้


วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

AuOvOm~เทศกาลช็อกโกแลตและโกโก้

เทศกาลช็อกโกแลตและโกโก้


ใครต่อใครก็รู้ว่า "เทศกาลช็อกโกแลตและโกโก้" เป็นหนึ่งเทศกาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้ไปเยือนกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แน่นอนด้วยเป็นฝรั่งเศสแฟชั่นชื่อดังของโลก จะมีเพียงช็อกโกแลตธรรมดาก็ผิดไปแล้ว ...





ด้วยไอเดียบรรเจิด ดีไซต์เนอร์เมืองน้ำหอมจึงมีความคิดในการรังสรรค์เสื้อผ้าแบบเก๋ๆ จากช็อกโกแลตมาอวดถึงจะสมความภาคภูมิกับการเป็นเมืองแฟชั่น




และก็ถือว่าแต่ละชุดก็ออกแบบได้อย่างสวยมีทั้งชุดเจ้าหญิงที่อลังการล้านเจ็ด ประหนึ่งว่าถ้าไม่มีการต่อเชื่อมช็อกโกแลตกันอย่างดีแล้ว รับรองถ้านางแบบกระดุกกระดิกเป็นหลุดหรือร่วงออกมาเป็นชิ้น ๆ แน่ หรือแม้แต่ช็อกโกแลตขาวก็รังสรรค์ชุดเก๋ ที่มีความพลิ้วไหวประหนึ่งทำจากผ้าซาตินเนื้อดี เนียบเนียนอย่างมาก ถ้าไม่สังเกตอย่างดี







ซึ่งแต่ละชุดก็ดีไซน์กันได้อย่างบรรเจิด เรียกร้องความสนใจจากผู้ชมได้อย่างมาก ทำเอาลืมกันไปเลยว่าแต่ละชุดนั้นทำจากช็อกโกแลตของโปรดของผู้คนทุกเพศทุกวัย และนอกจากชุดที่ดีไซน์ด้วยช็อกโกแลตแล้ว ภายในงานนี้ยังมีนิทรรศการและซุ้มบอกกล่าวเรื่องราวของช็อกโกแลตอย่างละเอียด พร้อมบอกให้รู้ว่านอกจากจะเป็นของหวานแสนอร่อยแล้ว ช็อกโกแลตยังมีประวัติศาสตร์มาอย่างเนิ่นนาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นขนมอันลือชื่อมาอย่างนานแสนนาน และเมื่อใดก็ตามที่นำช็อกโกแลตมาผสมกับแป้ง หรือส่วนประกอบอื่นๆ ความเข้มข้น ความอร่อย ก็ลอยมาติดจมูกกันทีเดียว




นอกจากนี้ในงานนิทรรศกาลยังให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเจ้าขนมรสเลิศนี้ว่า ช็อกโกแลตนอกจากจะกินได้แล้วยังสามารถนำมาทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย แม้กระทั่งการนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความสวยให้แก่ผู้หญิง หรือแม้แต่การนำมารังสรรค์เป็นชุดสวยๆ อย่างที่เห็นอีกด้วย





นี่จึงถือว่าเป็นหนึ่งไอเดียดี ๆ ในการสร้างสรรค์และผสมผสานศิลปะทั้งสองประเภทให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและสวยงาม