วิทยาศาสตร์ในวันคริสต์มาส
1. 25 ธ.ค. วันเกิดพระเยซู?เป็นที่รู้กันดีว่า พระเยซูประสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม หรือ "วันคริสต์มาส"แต่นายเดฟ รีนีก นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวออสเตรเลีย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน คำนวณดูดวงดาวที่เกิดขึ้นในเมืองเบธเลเฮม เมื่อ 2008 ปีก่อน ตามที่ไบเบิ้ลระบุว่า ชาย 3 คนเดินตาม "ดาวต้นคริสต์มาส" จนพบพระเยซู รีนีก พบว่า มี "ดาวต้นคริสต์มาส" เกิดขึ้นใน 2 ปีก่อนคริสตกาลจริง แต่พระเยซูน่าจะประสูติในวันที่ 17 มิถุนายน ไม่ใช่วันที่ 25 ธันวาคมทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดาวต้นคริสต์มาสคือดาวศุกร์และดาวพฤหัสที่โคจรเข้ามาใกล้กันมาก จนทำให้เกิดแสงสุกสกาวมากกว่าปกติ
2. "ดาวต้นคริสต์มาส"เจิดจ้ากลางฟ้า วิลเลียม เฮอร์เชล เป็นบุคคลแรกที่เห็นดาวต้นคริสต์มาส หลังจากที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1784 แสงของกลุ่มดาวเป็นประกายระยิบระยับคล้ายกับไฟประดับต้นคริสต์มาส และมีดาวที่สว่างที่สุดอยู่ด้านบน ส่วนปีนี้นักดาราศาสตร์ยุโรป นำภาพดาวต้นคริสต์มาสมาฝากกัน โดยใช้กล้อง "ไวด์ ฟีลด์ อิมเมจเจอร์ (WFI)" ที่หอดูดาวลาซิญญ่า ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงในทะเลทรายอะตาคามา ประเทศชิลี ถ่ายรูปนี้ออกมา จะเห็นกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศ หรือ "เนบิวลา" ที่มีชื่อว่า "NGC 2264" มีลักษณะเป็นทรงกรวย และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,600 ปีแสง รวมทั้งกลุ่มดาวภาพส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ที่เปล่งแสงออกมาใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ออกมาจากดวงดาวที่มีอายุน้อยกว่า สำหรับดวงดาวที่มีสีอมน้ำเงิน เป็นเพราะเป็นดาวที่มีความร้อนกว่า อายุน้อยกว่าและมีความหนาแน่นกว่าพระอาทิตย์ของเรา
3. การ์ดคริสต์มาสกินได้ถ้าท้องยังไม่อิ่มในวันคริสต์มาส ผู้ที่มีการ์ดของบริษัทออกซิเจนครีเอทีฟ ก็สามารถเอาการ์ดมากินเป็นอาหารได้การ์ดจากฝีมือการออก แบบของ "สตีฟ ลอดจ์" นี้ทำมาจากแป้งมันฝรั่ง หมึกที่อยู่บนกระดาษก็เป็นหมึกที่กินได้ ส่วนภาพที่อยู่บนการ์ดเป็นรูปบรัสเซลล์สเปราส์ ที่คล้ายกับแขนงผักของบ้านเรา ถ้าจะเขียนคำอวยพรในการ์ด เขาก็มีปากกาที่บรรจุหมึกกินได้ วางขายคู่กันด้วย
4. เสียงเพลงคริสต์มาสโบราณรัสเซล บาร์นส์ คุณปู่ชาวอังกฤษวัย 79 ปี เปิดเผยว่า พบเสียงร้องเพลงคริสต์มาสของครอบครัวสมิธที่ร้องไว้เกือบ 100 ปีก่อนครอบครัวสมิธอาศัยอยู่ที่เมืองซาลิสบิวรี่ ร้องเพลงคริสต์มาสโดยบันทึกไว้ใน "โฟโนกราฟ ไซคลินเดอร์" หรือ "เครื่องเล่นกระบอกเสียง" ที่ทำมาจากขี้ผึ้ง สบู่ จำนวน 8 อัน ระหว่างค.ศ. 1913-1917 นอกจากเสียงร้องเพลงคริสต์มาสแล้ว ครอบครัวสมิธยังพูดคุยว่า "พ่อไปทำสงคราม" ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พอดี พร้อมยังอัดเสียงพูดคุยในครอบครัวในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันอีสเตอร์ วันเกิดเสียงที่พบเป็นเสียงของคนราว 10 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเสียงของผู้ที่มีชื่อว่า อลิซ ทอม ฟีบี้ จอร์จ มาร์จี้ มีเสียงการอวยพรวันเกิดปีที่ 9 ของเด็กชายรอนนี่ ที่ได้รับของขวัญเป็นรถถีบ ผู้ที่เป็นพ่อน่าจะชื่อว่าแซมมวล บอกว่า วันนั้นเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913"เครื่องเล่นกระบอกเสียง" มีความเปราะบาง จึงเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหาย แต่ราว 10 วันก่อน คุณปู่บาร์นส์ได้อัดเสียงร้องเพลงจาก "เครื่องเล่นกระบอกเสียง" มาไว้ในซีดี ด้วยการใช้เครื่อง "อาร์คีโอโฟน" ซึ่งประดิษฐ์โดย นายอองรี ชามูซ์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส เพราะเครื่อง "อาร์คีโอโฟน" สามารถอัดเสียงร้องจาก "เครื่องเล่นกระบอกเสียง" มาไว้ในซีดี โดยไม่ทำให้ "เครื่องเล่นกระบอกเสียง" เสียหายเลย
5. "กวางเรนเดียร์"ตัวผู้หรือเมีย?กวางเรนเดียร์เป็นพาหนะของซานตาคลอส แล้วมันเป็นตัวผู้ ตัวเมียกี่ตัว?ดร.อลิซ บลู-แมกเลนดอน ผู้วชาญด้านสัตว์ป่าโดยเฉพาะกวาง จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม สหรัฐอเมริกา มีความเห็นว่า กวางเรนเดียร์ของซานตาคลอสทุกตัวเป็นตัวเมีย เหตุที่เป็นเพศเมียก็เพราะ กวางตัวผู้จะสลัดเขาในช่วงคริสต์มาส แต่ตัวเมียจะเก็บเขาไว้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมแต่ ดร.เกร็ก ฟินสตัด หัวหน้าโครงการศึกษาเรนเดียร์ จากมหาวิทยาลัย อลาสกา แฟร์แบงค์ สหรัฐอเมริกา ค้านว่า เรนเดียร์ของซานตาคลอสอาจเป็นตัวผู้ที่เป็นหมัน หรือ เรียกว่า "สเตียร์" ที่จะคงเขาไว้จนถึงช่วงเวลาเดียวกับตัวเมียดร.ฟินสตัด ยังกล่าวต่อไปอีกว่า นักลากเลื่อนส่วนใหญ่ใช้ "สเตียร์" ในช่วงฤดู หนาว เพราะในช่วงฤดูหนาว ตัวเมียส่วนใหญ่จะตั้งท้อง เนื่องจากฤดูติดอยู่ในช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูใบไม้ร่วง ไม่มีนักลากเลื่อนคนใดอยากใช้กวางท้องลากเลื่อนสำหรับกวางเรนเดียร์ของซานตาคลอสมีทั้งหมด 9 ตัว ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "รูดอล์ฟ" กวางจมูกแดง ส่วนเพื่อนตัวอื่นๆ มี ดอนเนอร์ บลิตเซ่น คิวปิด แดชเชอร์ แดนเซอร์ แพรนเซอร์ คอมเม็ต และวิกเซ่น
6. ผู้ป่วยโรคหัวใจต้องระวังช่วงคริสต์มาสเป็นช่วงอันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะ "วันที่ 26 ธันวาคม" ถือเป็นวันที่อันตรายที่สุดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก และมหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาและพบว่า ช่วงคริสต์มาสมีผู้ป่วยหัวใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 5% และมีการเรียกช่วงนี้ว่า "โรคหลอดเลือดคริสต์มาส (Christmas coronaries)"แพทย์มีความเห็นว่า ก่อนคริสต์มาสผู้ป่วยไม่อยากไปหาหมอ โดยวันคริสต์มาสมีผู้ป่วยโรคหัวใจเข้ามารับการรักษาไม่มาก แต่ถัดจากนั้นเพียงวันเดียว คือวันที่ 26 ธันวาคม ผู้ป่วยกลับพุ่งขึ้นจนผิดหูผิดตาจากเศรษฐกิจที่ล้มระเนระนาดในปีนี้ อาจทำให้มีผู้ป่วยโรคหัวใจมาเข้ารับการรักษาในช่วงคริสต์มาสมากกว่าปีก่อนๆ นายแพทย์ซามิน ชาร์มา ผู้วชาญโรคหัวใจ จากโรงพยาบาลเมาต์ไซนาย เตือนว่า ผู้ป่วยหัวใจอย่าลืมตัวไปรับประทานอาหารที่มีเกลือสูง เพราะอาหารที่เค็ม การดื่มเหล้าเยอะ สามารถทำให้หัวใจวายได้ทั้งนั้นขณะที่คุณหมอและคุณพยาบาลแผนกฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นให้ดี
7. "พอยเซ็ตเทีย"ต้นไม้ประจำคริสต์มาส ถ้าพูดถึง "ต้นพอยเซ็ตเทีย" เราส่วนใหญ่คงไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า นี่คือ "ต้นคริสต์มาส" ที่ออกใบสีแดงสด คงร้องอ๋อกันเป็นแถวๆที่จริงแล้ว "พอยเซ็ตเทีย" หรือ "Euphorbia Pulcherrima" มีหลายสี ทั้งสีแดงซึ่งเป็นสีหลัก สีครีม สีขาว โดยสวนที่ปลูก "พอยเซ็ตเทีย" พยายามผสมสีใหม่ๆ มาวางตลาด ทั้งม่วงเข้ม ส้มอมชมพู แดงจุดขาว และผสมพันธุ์ให้มันอยู่ทนนานจนถึงช่วง "วันอีสเตอร์" คือประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน"พอยเซ็ตเทีย" เป็นไม้กระถางลำดับ 2 ที่ชาวอังกฤษซื้อมากที่สุด มียอดซื้อปีละประมาณ 5 ล้านต้น รองมาจากกล้วยไม้ โดยเฉพาะช่วงคริสต์มาสยิ่งขายดี สีที่ชาวอังกฤษนิยมจะเป็นสีแดง ลำต้นค่อนข้างสูง ส่วนชาวยุโรปทางตอนกลางนิยมต้นที่เตี้ยลงมาเล็กน้อย ชาวสวีเดนชอบต้นเล็กๆ ชาวเยอรมันชอบสีสด ส่วนชาวฝรั่งเศสเป็นชาติเดียวที่นิยมซื้อ "พอยเซ็ตเทีย" ตลอดทั้งปีเหตุที่ "พอยเซ็ตเทีย" เป็นต้นไม้ประจำเทศกาลคริสต์มาส นอกจากต้นสน ต้นฮอลลี่ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อราวศตวรรษที่ 16 ที่ประเทศเม็กซิโก เด็กหญิงคนหนึ่งยากจนมาก จนไม่สามารถซื้อของขวัญเพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู นางฟ้าจึงบอกเด็กหญิงนำวัชพืชมาปลูกตามทางเดินที่จะไปโบสถ์ ไม่นานวัชพืชกลับงอกงามกลายเป็นต้นไม้ที่มีดอกสีแดงสะพรั่งกระทั่งศตวรรษที่ 17 บาท หลวงจากนิกายคาธอลิกของเม็กซิ โก จึงพร้อมใจกันให้ "พอยเซ็ต เทีย" เป็นต้นไม้หนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส ส่วนชาวอเมริกันนั้นชอบถึงขนาดให้วันที่ 12 ธันวาคมของทุกๆ ปี เป็น "วันพอยเซ็ตเทีย"