วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

AuOvOm~ต้นกำเนิดวันปีใหม่


ต้นกำเนิดวันปีใหม่


มีเรื่องเล่ากันว่า จริงๆ แล้วในอดีต วันปีใหม่ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคม หรอกนะคะ แต่เป็นวันที่ 1 มีนาคม ตามปฏิทินโบราณของชาวโรมัน โดยปฏิทินนี้จะมีแค่ 10 เดือน และเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนแรกของปี เพราะปฏิทินจะนับตามการโคจรของดวงจันทร์ โดยเริ่มจากฤดูใบไม้ผลิ จนถึงสิ้นฤดูใบไม้ร่วง

สำหรับการเฉลิมฉลองปีใหม่เริ่มขึ้นครั้งแรกในยุคเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณสองพันปีที่แล้วประมาณช่วงกลางเดือนมีนาคม เรียกว่า vernal equinox ต่อมาชาวอียิปต์ เปอร์เซีย และเฟนีเชียนเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของพวกเขาในช่วงเวลา fall equinox น้องๆ คงสงสัยสินะคะว่า Equinox คืออะไร เราสามารถให้คำจำกัดความของ Equinox ได้ว่า คือ ช่วงเวลาที่กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงวันที่ 21 มีนาคมและ 23 กันยายน ส่วนชาวกรีกจะเฉลิมฉลองตาม winter solstice หรือวันที่มีกลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ซึ่งก็คือช่วง 22 ธ.ค. ถึง 5 ม.ค. นั่นเอง

มีตำนานเล่ากันว่าในยุคของ Numa Pompilius กษัตริย์องค์ที่ 2 ของโรมันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการแบ่งเดือนใหม่ โดยเพิ่มเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์เข้าไป หากชาวโรมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ และยังเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มีนาคมกันต่อไป

จนเมื่อถึงยุคสาธารณรัฐโรมัน ก็เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 ม.ค. เป็นครั้งแรกโดยจูเลียส ซีซาร์เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตศักราช เพราะเดือนมกราคมนี้ตั้งชื่อตามชื่อเทพเจ้าจานุส (Janus) เทพกรีกที่คนโรมันนับถือบูชา พระองค์จึงต้องการให้เดือนนี้เป็นการเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่




ความเชื่อเกี่ยวกับเทศกาลปีใหม่ตามประเทศต่างๆ

เริ่มต้นด้วยประเทศในแถบยุโรปอย่างประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษจะมีความเชื่อว่า ผู้ชายคนแรกที่มาเยือนที่บ้านหลังจากเที่ยงคืนแล้วจะนำความโชคดีมาให้ โดยปกติแล้วชาวอังกฤษมักจะให้ของขวัญอย่างเช่น เงิน ขนมปังหรือก้อนถ่าน เพื่อเป็นการอวยพรให้ครอบครัวนั้นมีสิ่งของเหล่านั้นอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ผู้ที่มาคนแรกนั้นจะต้องไม่ใช่คนผมบลอนด์ ผมสีแดง หรือเป็นผู้หญิง เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะนำความโชคร้ายมาให้

ส่วนที่ประเทศเดนมาร์ก เชื่อกันว่า ถ้าบ้านไหนมีเศษจานแตกกองสุมอยู่หน้าประตูบ้านเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าบ้านนั้นมีเพื่อนฝูงคบหาสมาคมมากมาย เพราะชาวเดนิชจะเก็บสะสมจานไว้ตลอดปี แล้วจะนำไปขว้างที่หน้าบ้านเพื่อนของพวกเขาในวันก่อนปีใหม่




มาต่อกันที่ประเทศในแถบอเมริกาใต้อย่างบราซิล ชาวบราซิลเชื่อว่า ซุปถั่วแขก (Lensil Soup) จะเป็นเครื่องแสดงความมั่งคั่ง ดังนั้นในวันแรกของปี ชาวบราซิลจะทำซุปถั่วแขกทานกัน หรือว่าจะทานถั่วแขกกับข้าว

ข้ามมาที่ประเทศในทวีปเอเชียกันบ้างนะคะ ที่ประเทศศรีลังกา จะเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในวันที่ 13 หรือ 14 เมษายนตามปฏิทินของฮินดู ผู้คนที่นั่นจะทำความสะอาดบ้านช่องในช่วงก่อนถึงวันปีใหม่ บางบ้านอาจจะทาสีบ้านใหม่ หรือเตรียมทำของหวานหลายชนิดเพื่อรับประทานในวันปีใหม่ เพราะชาวศรีลังกาจะไม่ทำอาหารหรือจุดไฟในคืนก่อนวันปีใหม่ และพวกเขาจะทานข้าว pongal เป็นมื้อแรกของวันปีใหม่ ซึ่งเป็นอาหารที่ทำจากข้าว ผสมน้ำตาล และมะพร้าว มีรสชาติหวาน



สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่น วันปีใหม่จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของครอบครัว ร้านรวงต่างๆ รวมไปถึงสำนักงานและโรงงานจะปิดทำการในวันนั้น ผู้คนมักจะไปไหว้พระขอพรตามวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กๆ หรือวัยรุ่น ตามวัดต่างๆ เมื่อย่างเข้าวันปีใหม่ จะเริ่มตีระฆัง 108 ครั้ง เพื่อปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายทั้งหมด 108 อย่างจากปีก่อนให้หมดไป ซึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โจยะโนะคาเนะ และเมื่อเริ่มปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการหัวเราะจะเป็นการทำให้พวกเขาโชคดีในปีใหม่อีกด้วย




สวัสดีปีใหม่ ของแต่ละประเทศ

ฝรั่งเศส
Bonne année
บอน นันเน่


จีน
Xin nian yu kuai / Xin Nian Kuai Le
ซิน เหนียน หยู ไคว่/ซิน เหนียน ไคว่ เลอ

ญี่ปุ่น
Akemashite Omedetou Gozaimasu
อะเคมาชิเตะ โอเมเดโตโกไซมัส

เกาหลี
Sehe Bokmanee Bateuseyo
เซ เฮ บก มา นี พา ดือ เซ โย

เวียดนาม
Chuc mung nam moi
จุ๊ก หมึ่ง นัม เหมย


ไม่มีความคิดเห็น: