วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

AuOvOm~Before Valentine...เหตุการณ์ที่คนไทยมิอาจลืม


Before Valentine...เหตุการณ์ที่คนไทยมิอาจลืม



วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่คนไทยทั้งประเทศมิอาจลืมเลือนได้...เพราะมันคือ วันที่เราต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ก่อน
14 กุมภา วันแห่งความรัก


โดยเหตุการณ์การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น เกิดจากการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยก่อนหน้าปี 2466 ไทยก็เสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสไปถึงสามครั้งแล้ว ได้แก่


ครั้งที่ 1

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ใน พ.ศ. 2410 ไทยเสียเขมรส่วนนอกและเกาะอีก ๖ เกาะ ให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการเสียดินแดนครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียดินแดนทั้งหมด 4 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2431

หลังจากที่ไทยได้ปราบพวกฮ่อเรียบร้อยแล้วใน พ.ศ. 2428 ในปีต่อมาฝรั่งเศสเข้ามาขอทำสัญญากับไทย ตั้งศาลกงสุลที่นครหลวงพระบาง และตั้งให้ ม. ปาวีร์ เป็นกงสุล ใน พ.ศ.2430 พวงฮ่อได้เข้ามาปล้นเมืองหลวงพระบางอีก แต่ไทยก็ปราบฮ่อได้อีก ซึ่งครั้งนี้ ม. ปาวีร์ ตกอยู่ในอันตราย ซึ่งไทยช่วยให้รอดชีวิตมาได้ การปราบฮ่อทุกครั้งฝรั่งเศสไม่เคยช่วยเลย แต่เมื่อไทยปราบฮ่อเสร็จแล้วฝรั่งเศสกลับมายึดเอาแคว้นสิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้ โดยอ้างว่าเอาไว้เป็นกำลังปราบฮ่อ ไทยจะเจรจาอย่างไรฝรั่งเศสไม่ยอมถอยทัพกลับ ฉะนั้นใน พ.ศ. 2431 แคว้นสิบสองจุไทยจึงตกเป็นของฝรั่งเศส


ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112)


ฝรั่งเศสแต่งตั้ง ม. ปาวีร์ เป็นอัคราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ในระหว่างนี้ฝรั่งเศสอ้างสิทธิว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดิมเป็นของญวนและเขมร ดังนั้นฝรั่งเศสควรมีสิทธิครอบครองดินแดนนี้ด้วย และในการปักปันเขตแดนนี้ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสเอาแม่น้ำโขงเป็นหลัก ไทยเราไม่ยอม ฝรั่งเศสส่งทหารญวนลุกล้ำเข้ามาจึงเกิดการปะทะกับทหารไทยที่รักษาดินแดนอยู่ และยังได้ส่งเรือนำร่องมาจากพนมเปญมาตามลำน้ำโขง เกิดปะทะกับฝ่ายไทยและต่อมาไม่นานก็ได้ส่งเรือรบ 2 ลำ ใน พ.ศ. 2436 เข้ามาในอ่าวไทยโดยอาศัยเรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง เจ้าหน้าที่ไทยที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ส่งสัญญาณห้ามให้หยุดไม่เป็นผล จึงยิงลูกหลอกขู่ ฝรั่งเศสได้ระดมยิงเรือไทย คือเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย ส่วนเรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงชำรุด แต่เรือรบ 2 ลำ คือเรือแองคองสตังต์และเรือโคเมตได้แล่นสู่กรุงเทพ ฯ จอดหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ม. ปาวีร์ ได้ยื่นคำขาดให้ตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง ดังนี้คือ



1. ให้ไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ ในลำน้ำโขงเป็นของฝรั่งเศสทั้งสิ้น และไทยถูกบังคับให้ถอนทหารชายแดนทั้งหมด

2. เสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส เป็นเงินไทยประมาณ 3 ล้านบาท และเงินฝรั่งเศส 2 ล้านฟรังก์


ไทยขอให้เสนอมหาประเทศพิจารณา ถ้าฝรั่งเศสมีหลักฐานอ้างอิงได้ว่าดินแดนแถบนี้เป็นของญวนและเขมรก็จะยอมยกให้ ฝรั่งเศสไม่ยอมและพร้อมกันนี้ก็ประกาศปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ไทยต้องยอมทำตามคำขาดของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2436


ต่อมา ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันอีกเป็นเวลา 10 ปี แต่เมื่อไทยได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี จันทบุรีเป็นดินแดนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ฉะนั้น ไทยต้องทำสัญญากับฝรั่งเศสอีก 2 ฉบับ



ฉบับที่ 1 ใน พ.ศ.2445 ไทยยอมทำสัญญาแลกเปลี่ยนยอมยกเมืองจำปาศักดิ์ มโนไพร ให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสจะยอมยกออกจากเมืองจันทบุรี แต่แล้วฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี


ฉบับที่ 2 ใน พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญาอีก กำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับเขมรโดยใช้ภูเขาบรรทัดเป็นหลัก และยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบางให้แก่ฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่หนองคาย มุกดาหาร และปากน้ำมูลได้


สัญญาฉบับที่ 2 ในปี 2446 นี้เอง ไทยต้องสูญเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงไปอีก ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2466 นับได้ว่า เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนจะเป็นวันแห่งความรัก ที่คนไทยมิอาจลืมเลือนได้เลยจริงๆ


และหลังจาก 13 กุมภาพันธ์ 2446 ไทยเราก็ต้องสูญเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นคร้งสุดท้าย ในปี 2449 โดยเสียพระตะบอง เสียมราฐ และ ศรีโสภณ
สรุปการเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส



ครั้งที่ ปี พ.ศ. เสียดินแดน ประมาณเนื้อที่

1. 2410 เสียส่วนใหญ่ของประเทศเขมรและเกาะ 6 เกาะ 124,000 ตร.กม.
2. 2431 เสียแคว้นสิบสองจุไทย 87,000 ตร.กม.
3. 2436 เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 243,000 ตร.กม.
4. 2446 เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง 62,500 ตร.กม.
5. 2449 เสียจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ 51,000 ตร.กม.



ไม่มีความคิดเห็น: