การให้ช็อกโกแลตในแดนปลาดิบ เกิดขึ้นเมื่อไรนะ
ถึงแม้ว่าเทศกาลวาเลนไทน์จะเป็นเทศกลายที่เราได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ แต่ก็ถือว่าเป็นเทศกาลที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ให้ความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างในประเทศญี่ปุ่นนั้น เทศกาลวาเลนไทน์ถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญมากๆ สำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะสำหรับสาวๆ ด้วยแล้วล่ะก็ วันวาเลนไทน์ถือว่าเป็นวันที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกที่มีต่อหนุ่มๆ ด้วยการมอบช็อกโกแลตเทนใจให้ …
. . . เคยสงสัยรึเปล่าคะว่าทำไมสาวๆ แดนปลาดิบเค้าต้องนำช็อกโกแลตไปให้หนุ่มๆ ด้วย … บางคนอาจจะทายว่าเป็นการแสดงออกถึงความรักอันหวานซึ้ง แต่ความจริงแล้วการให้ช็อกโกแลตมีสาเหตุมาจากการโฆษณาของบริษัทขายขนมเท่านั้นเอง แต่ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับความนิยมสูงจนเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
โดยที่มาของการให้ช็อกโกแลตนั้นเกิดขึ้นในปี 1938 บริษัทช็อกโกแลตชื่อ Morozoff คิดเคมเปญในการขายช็อกโกแลต โดยทำเอาธรรมเนียมการส่งของขวัญในวันวาเลนไทน์มาเผยแพร่ โดยโฆษณาว่า วันวาเลนไทน์ เป็นวันแห่งความรัก ควรจะมอบของขวัญให้แก่คนรัก และออกแคมเปญให้มอบช็อกโกแลตเป็นของขวัญ ในเวลานั้นโฆษณาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าควร สินค้าที่ขายดีเป็นเพียงชอกโกแลตชั้นเล็ก ราคา 3 ชิ้น 50 เยน เท่านั้น
แต่หลังจากนั้นในปีปี 1958 ร้าน Mary's Chocolate นำแคมเปญนี้มาใช้อีกครั้ง และโฆษณาว่า ให้สาวๆ มอบชอกโกแลตเป็นของขวัญให้ผู้ชายกันเถอะ เหตุผลที่โปรโมทว่าให้ผู้หญิงเป็นผู้มอบช็อกโกแลตนั้น เพราะว่าแคมเปญจัดที่ห้างอิเซตันลูกค้าส่วนใหญ่ของห้างนี้เป็นผู้หญิง ในงานนี้มีการผลิตช็อกโกแลตรูปหัวใจ และรูปอื่นๆ ที่สวยงามเหมาะกับการให้เป็นของขวัญ แคมเปญนี้จัดขึ้นทุกปี จนบริษัทอื่นๆ ทำตาม
และในปี 1970 สมาคมช็อกโกแลตและโกโก้ของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มักจะมีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมเพื่อให้มีอำนาจต่อรองทางการค้า) ได้ประกาศให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันแห่งช็อกโกแลตซึ่งก็สอดคล้องกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีซึ่งเป็นวันวาเลนไทน์
ดังนั้นประเพณีให้ช็อกโกแลตในวันวาเลนไทน์ของญี่ปุ่น จึงมีต้นกำเนิดมาจากกลยุทธการตลาดของบริษัทขนมนั่นเองค่ะ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ธรรมเนียมนี้ได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนานก็คงเป็นเพราะว่าชาวญี่ปุ่นชอบการให้และรับของขวัญอยู่แล้ว และชอบมากที่จะมีอาหารพิเศษในเทศกาลต่างๆ ดังนั้น แคมเปญนี้เรียกว่าจัดได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น